นพ.ศิระ เลาหทัย เผย…เหงื่อออกมือไม่ใช่สัญญาณของโรคหัวใจ
หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าอาการ “เหงื่อออกมือ” อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจ ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากอาการของโรคหัวใจที่พบกันอยู่เป็นประจำ คือ เหนื่อยง่าย หายใจเข้าได้ลำบาก มีอาการหอบหรือเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือปลายมือปลายเท้าและริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ เหล่านี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นและเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ
ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกผู้เชี่ยวชาญด้านผ่าตัดส่องกล้องจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ได้อธิบายถึงอาการของโรคหัวใจว่า ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกและมีอาการปวดร้าวไปบริเวณคอหรือแขนซ้ายได้ ในบางรายอาจมีภาวะเหนื่อยง่าย ใจสั่น หรือ เหงื่อออกร่วมด้วยได้ โดยส่วนมากมักจะเกิดขึ้นขณะที่ผู้ป่วยกำลังทำงานหรือออกกำลังกาย
แต่ในทางกลับกัน โรคเหงื่อออกที่มือนั้น (hyperhidrosis) ผู้ป่วยมักจะเป็นที่มือทั้ง 2 ข้าง และคนไทยจะป่วยเป็นโรคนี้โดยเฉลี่ย 3% ของประชากรของประเทศ คิดเป็นง่าย ๆ หากประเทศไทยมีประชากร 70 ล้านคน จะมีผู้ป่วยโรคนี้ ถึง 2.1 ล้านคน และสามารถพบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงเท่า ๆ กัน โดยลักษณะของโรคนี้มักไม่มีอาการดังกล่าวร่วมด้วย อีกทั้งมักจะเป็นที่มือทั้ง 2 ข้าง ในบางรายอาจมีอาการบริเวณเท้า หรือ บริเวณรักแร้ร่วมด้วยได้ ซึ่งอาการที่จะเกิดไม่สัมพันธ์ต่ออุณหภูมิ เวลาหรือการออกำลังกาย อย่างไรก็ตามภาวะนี้ เราต้องแยกจากโรคที่มีสาเหตุ (Secondary hyperhidrosis) เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ เบาหวาน ตั้งครรภ์ โรคระบบประสาทหรือการรับประทานยาบางชนิด อาจมีผลทำให้เกิดภาวะเหงื่อออกที่มือได้
ปัจจุบันการรักษาโรคเหงื่อออกที่มือนั้น มีวิธีการรักษาได้หลายแบบตั้งแต่ยารับประทาน สเปรย์ทามือหรือฉีดยา botulinum toxin อย่างไรก็ตามวิธีการรักษาที่ทำให้หายขาดที่ดีสุด คือ การรักษาโดยการผ่าตัด (Thoracoscopic sympathectomy) ทำได้โดยการผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กขนาด 1 เซ็นติเมตร ข้างลำตัวทั้ง 2 ข้างเพื่อเข้าไปเส้นประสาทอัตโนมัติ (Sympathetic chain) บริเวณช่องซี่โครงที่ 4 และ 5 อย่างไรก็ตามการผ่าตัดอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า ภาวะเหงื่อทดแทน (Compensatory hyperhidrosis) ซึ่งพบเหงื่อทดแทนบริเวณที่ลำตัวหรือต้นขาได้
ภาวะโรคเหงื่อออกที่มือ นับว่าเป็นสัญญาณที่ผิดปกติ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตลดลง ผู้ป่วยท่านใดที่พบเจอแนะนำควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ตรงจุดหรือสามารถสอบถามข้อมูลได้ผ่านทางเฟซบุ๊กผ่าตัดปอด หรือ lineofficial; @lungsurgeryth หรือรับชมได้ที่ www.youtube.com/watch?v=