‘หัวเว่ย’ เปิดตัวโซลูชันศูนย์ข้อมูลแบบฟูลสแตกครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก

0 0
Read Time:4 Minute, 42 Second

หัวเว่ยจัดประชุม ศูนย์ข้อมูลที่รวดเร็ว เชื่อถือได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Fast, Reliable, and Green Data Center” Forum) ภายในงาน ‘Huawei APAC Digital Innovation Conference 2022’ โดยอภิปรายถึงกลยุทธ์ขององค์กรในการสร้างศูนย์ข้อมูลเจเนอเรชันใหม่ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อรับมือกับความท้าทายหลากหลายรูปแบบ อาทิ ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยมีลูกค้าและพันธมิตรกว่า 500 รายจากหลายภาคอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เข้าร่วม

นายแอรอน หวัง รองประธานอาวุโสกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ประจำเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานว่า ข้อมูลถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่ทำให้องค์กรต่างๆ ได้เปรียบการแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัล ศูนย์ข้อมูลจึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการใช้ระบบดิจิทัลในองค์กร ภายในปี พ.ศ. 2573 ปริมาณข้อมูลจะเพิ่มขึ้น 30 เท่าและเข้าสู่ยุคย็อตตะไบต์ (YB era) องค์กรจะเผชิญกับความท้าทายในการกำกับดูแลข้อมูลและการเชื่อมต่อโครงข่าย และผลักดันนโยบายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในเวลาเดียวกัน

ศาสตราจารย์ ลี โพ เซง กรรมการบริหาร สถาบันพลังงานศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มความเป็นไปได้และความท้าทายในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยตั้งข้อสังเกตว่า การพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่ยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ และควรมีระบบรายงานความยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ตลอดจนสร้างมาตรฐานที่เชื่อถือได้ในอุตสาหกรรม เขาอธิบายว่าโดยเฉลี่ย ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูล (Power usage effectiveness หรือ PUE) ในเอเชียแปซิฟิก มีอัตราที่ ค่อนข้างสูงอยู่ที่ 1.69 เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 1.59 และสามารถตั้งเป้าหมายได้สูงกว่านี้ โดยกลยุทธ์มุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นไปได้คือการใช้เทคโนโลยีระบายความร้อนด้วยของเหลว เขาสรุปปัจจัยหลักสี่ประการในการพัฒนาศูนย์ข้อมูลยุคใหม่ ได้แก่ ความเร็วในการบริการ, การพัฒนาที่ยั่งยืน, ความปลอดภัยของข้อมูล, และการใช้นวัตกรรม

ในส่วนของนวัตกรรมไอที นายบิล ราฟเทอรี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการจัดเก็บข้อมูล ฟิวเจอร์เว่ย ได้จัดแสดงนวัตกรรมโซลูชัน ‘OceanStor’ ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชความเร็วสูง (all-flash acceleration solution) ที่ใช้เทคโนโลยี Flash-to-Flash-to-Anything (F2F2X) ช่วยลูกค้าจัดการข้อมูลธุรกรรมในกระบวนการผลิตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลสำรองด้วยความเร็วสูง และกู้คืนข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ และกล่าวถึงจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของหัวเว่ย อาทิ โซลูชัน NOF+ สำหรับการจัดเก็บข้อมูล พัฒนาเครือข่าย IPแทนที่เครือข่าย FC (Fibre Channel) แบบเดิม โซลูชัน Storage-Optical Connection Coordination หรือ SOCC สำหรับการจัดเก็บข้อมูล และเครือข่ายออปติคัลความเร็วสูงที่มีระบบ failover ระหว่างศูนย์ข้อมูลภายในไม่กี่วินาที ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้เป็นผลจากลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านไอซีทีของหัวเว่ย

ในส่วนของนวัตกรรมเครือข่าย การวิจัยร่วมกับ Forrester Consulting เผยว่าการทดลองใช้เครือข่ายศูนย์ข้อมูล อัตโนมัติ (Data Center Network หรือ DCN) ในองค์กร ไม่ว่าจะดำเนินการเต็มที่หรือบางส่วน ยังพบความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับกระบวนการนี้ การพัฒนายังไม่สมบูรณ์เกิดจากระบบคลาวด์และผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน ผู้บริหารระบบต้องนำเทคโนโลยี เครื่องมือ กระบวนการใหม่ๆ ตลอดจนแอปพลิเคชันและโซลูชันการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) แบบครบวงจรมาใช้ เพื่อให้ระบบทำงานแบบอัตโนมัติได้มากขึ้น

นายฟิลิป ไล หัวหน้าหน่วยสถาปัตยกรรมศูนย์ข้อมูลของหัวเว่ย นำเสนอโซลูชันหลากหลาย อาทิ L3.5 autonomous driving network (ADN) และโซลูชันอ็อปติกซ์สำหรับศูนย์ข้อมูล (DC OptiX) ประกอบด้วยอุปกรณ์ส่งผ่านข้อมูลด้วยการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น (WDM) ที่ออกแบบมาสำหรับ Data Center Interconnect ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง AI เพื่อสร้างการเชื่อมต่ออัจฉริยะ ปรับเครือข่ายอัตโนมัติรวมทั้งซ่อมแซมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบ กระบวนการเหล่านี้นำไปสู่สถาปัตยกรรมเครือข่ายที่เรียบง่าย มีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดต้นทุนและสร้างการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) อัจฉริยะ

ในด้านศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นายซัน เสี่ยวเฟิง รองประธานหัวเว่ยดิจิทัล พาวเวอร์ ได้แนะนำโซลูชันสำหรับโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูลหัวเว่ยที่ใช้งานง่าย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ชาญฉลาด และปลอดภัย โซลูชันใหม่นี้ผสานนวัตกรรมหลายอย่าง รวมถึงสถาปัตยกรรมแบบใหม่ ระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) และอุปกรณ์จ่ายไฟ โซลูชัน FusionDC ของหัวเว่ยใช้โมดูลแบบกำหนดค่าล่วงหน้าเพื่อเปิดดำเนินการศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ในเวลาเพียง 6 ถึง 9 เดือน และลดการปล่อยคาร์บอนได้ 90% สำหรับศูนย์ข้อมูลขนาดเล็กและขนาดกลาง Huawei FusionModule ใช้โมเดลอัจฉริยะแบบโมดูลาร์เพื่อระบบดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) ครบวงจรแบบ Plug-and-Play ที่ควบคุมได้จากระยะไกล

ในอนาคต หัวเว่ยมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการบรรจบกันของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ตลอดจนความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์และโดเมน เราตอกย้ำความเป็นผู้นำอุตสาหกรรมด้านโซลูชันศูนย์ข้อมูลฟูลสแตก ที่รวดเร็ว เชื่อถือได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราพร้อมร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและส่งเสริมโอกาสความก้าวหน้าในยุคดิจิทัลต่อไป

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

%d bloggers like this: