เคสเทรล เปิดแผนส่งเสริมนวัตกรรมชุดตรวจ ATK โควิด-19 แบบรวดเร็ว สู่การเป็นผู้ผลิตสำคัญของอาเซียน

0 0
Read Time:4 Minute, 41 Second

กรุงเทพฯ บริษัท เคสเทรล ไบโอ ไซเอ็นซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความสำเร็จการพัฒนาชุดตรวจโควิด 19 แบบตรวจด้วยตนเองของไทยที่มีมาตราฐานระดับสากล เปิดแผนพัฒนานวัตกรรมใหม่ชุดตรวจโควิด 19 และไข้หวัดหลายสายพันธุ์ เอ/บี ในชุดเดียว พร้อมส่งเสริมนวัตกรรมไทยเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตชุดตรวจแบบรวดเร็วที่สำคัญในอาเซียน

คุณชฎารัตน์ เสโนฤทธิ์ General Manager บริษัท เคสเทรล ไบโอ ไซเอ็นซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (KBS) กล่าวว่า “บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย พัฒนา ชุดตรวจแบบรวดเร็ว (Diagnosis Rapid Test) มากว่า 14 ปี  ปัจจุบันให้บริการ 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) การวิจัย พัฒนาชุดตรวจแบบรวดเร็ว (2) รับจ้างผลิตสินค้า หรือ OEM (Original Equipment Manufacturer) (3) ออกแบบ พัฒนา ผลิตสินค้า รวมถึงบริการขึ้นทะเบียนสินค้า หรือ (Original Design Manufacturing) และ (4) จัดจำหน่ายวัตถุดิบบางส่วนสำหรับพัฒนาและผลิตชุดตรวจแบบรวดเร็ว โดยล่าสุดคือชุดตรวจโควิด 19 นวัตกรรมไทย Kestrel Covid-19 Antigen Test Kit for Self-testing แบบตรวจด้วยตนเอง ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าสากล ตามเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ในการส่งเสริมความรู้และนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพที่ดีของประชาชนชาวไทย”

คุณเจะนูรียะห์ มงคลประเสริฐ หัวหน้า ฝ่ายวิจัย และพัฒนา กล่าวว่า “ความสำเร็จล่าสุดของทีมนักวิจัยไทยคือชุดตรวจโควิด 19 นวัตกรรมไทย Kestrel Covid-19 Antigen Test Kit for Self-testing แบบตรวจด้วยตนเอง ที่มีความไว 95% และ ค่าความถูกต้อง 98.3% ถือว่ามีคุณภาพที่เที่ยบเท่าแบรนด์ระดับโลก จากทั้ง อเมริกา ยุโรป และเกาหลี โดยก่อนหน้านี้ได้ผลิตชุดตรวจ Kestrel Covid-19 Ag Rapid Test (ATK professional use) ความไว 98% ค่าความถูกต้องสูง 99.4% ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 เมื่อต้นปี 2564 จุดเด่นของชุดตรวจโควิด 19 ของเคสเทรล คือความสามารถตรวจจับโปรตีนไวรัสโควิด-19 ได้สูง แม้มีปริมาณน้อยมาก มีค่าขีดจำกัดของชุดตรวจ (Limit of Detection; LOD) อยู่ที่โปรตีนเป้าหมาย SARS-CoV-2 nucleocapsid ในตัวอย่างที่ความเข้มข้นเชื้อที่ 0.2 ng/mL และจากการทดสอบพบว่าสามารถตรวจสายพันธุ์โอมิครอน และสายพันธ์อื่นๆ ที่น่ากังวลได้ โดยมีงานวิจัยตีพิมพ์รองรับในระดับนานาชาติ จากวารสารวิชาการชั้นนำของโลก1

ทนพญ.สมจิตร์ จินาภักดิ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลรามคำแหง และเลขาธิการสภาเทคนิคการแพทย์ กล่าวว่า “ชุดตรวจที่ได้มาตรฐานจะต้องนำเข้าอย่างถูกกฎหมาย และผ่านการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยมีระบุเลขที่ อย. ที่ฉลาก – ต้องมีการจัดเก็บและมีการจัดส่งที่เป็นไปตามมาตรฐาน – มีข้อมูลงานวิจัยในประเทศ และต่างประเทศรองรับ ที่จะช่วยยืนยันได้ว่าชุดตรวจโควิด-19 มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากพอที่จะใช้ในการตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเอง เพราะหากชุดตรวจไม่มีคุณภาพมากพอ ก็อาจจะทำให้การแปลผลผิดพลาด และไม่สามารถชะลอหรือหยุดยั้งสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในไทยได้ ของดีราคาถูกอาจจะไม่มีอยู่จริง แต่ของดี ราคาเหมาะสมยังพอมี ควรคัดเลือกซื้อด้วยความระมัดระวัง”

สำหรับแผนส่งเสริมนวัตกรรมในปี 2565 คุณชฎารัตน์ ให้ข้อมูลว่า “บริษัทกำลังพัฒนานวัตกรรมใหม่ชุดตรวจแบบรวดเร็วที่สามารถตรวจหาโควิด 19 ร่วมกับไข้หวัดได้หลายสายพันธุ์ในชุดเดียว เพื่อลดการตื่นตระหนกของประชาชน ลดภาระงานของระบบสาธารณสุข และประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาเบื้องต้น นอกจากนี้ ยังเพิ่มทีมนักวิจัยและพัฒนาชุดตรวจโรคติดเชื้อในคนที่มียุงเป็นพาหะ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดสายพันธ์ุ A/B และโรคติดเชื้อในสัตว์ เช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever; AFS) ที่เป็นสัตว์เศรฐกิจ

บริษัทฯ กำลังเตรียมสร้างแพลตฟอร์มเครือข่ายระหว่างผู้สร้างนวัตกรรมและนักลงทุน เพื่อช่วยผลักให้ไอเดียนวัตกรรมเกิดขึ้นได้จริง สามารถผลิตได้อย่างมีมาตรฐาน และส่งออกได้ โดยเครสเทรลมีศักยภาพในการผลิตชุดตรวจที่ได้มาตราฐานเครื่องมือแพทย์ มีกำลังผลิตพียงพอที่จะเป็นฐานการผลิตสำคัญในอาเซียน และเปิดรับไอเดียใหม่ๆจากนักวิจัยเพื่อต่อยอดและพัฒนาได้อีกมาก เรามุ่งมั่นคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรมและการใช้นวัตกรรมภายในประเทศ สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนและความมั่นคงทางสุขภาพ การส่งเสริมนวัตกรรมสินค้าไทยให้เกิดขึ้นได้จริงและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน เพื่อลดช่องว่างการตลาดและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่ดีและมีคุณภาพเพื่อคนไทยและชื่อเสียงของประเทศในอนาคต” คุณชฎารัตน์ กล่าวปิดท้าย

1 อ้างอิง: Development, Analytical, and Clinical Evaluation of Rapid Immunochromatographic Antigen Test for SARS-CoV-2 Variants Detection: https://www.mdpi.com/2075-4418/12/2/381/pdf

5 ข้อแนะนำที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังสับสนในการใช้ชุดตรวจโควิด 19

โดย ทนพญ.สมจิตร์ จินาภักดิ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลรามคำแหง และเลขาธิการสภาเทคนิคการแพทย์

1. ควรใช้ก้านสวอปชนิดไหน – ประชาชนทั่วไปที่ตรวจด้วยตนเอง ควรใช้สวอปก้านสั้นแข็ง ที่ใช้สวอปโพรงจมูกส่วนหน้า ส่วนก้านยาวแข็งใช้สวอปช่องคอ และก้านยาวอ่อนใช้สวอปโพรงจมูกลึกถึงส่วนหลัง เป็นของบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการอบรมมาอย่างดี

2. ตลับทดสอบพลาสติกต้องอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกแกะซองทิ้งไว้ เพราะจะเกิดความชื้น มีผลต่อการทดสอบ

3. หลอดและน้ำยาบัฟเฟอร์ ควรอ่านคำแนะนำปริมาณการหยดของน้ำยาบัฟเฟอร์ และเมื่อจุ่มก้านสวอปแล้วต้องทิ้งไว้นานเท่าไหร่ หลอดบัฟเฟอร์ควรเป็นแบบยืดหยุ่น สามารถบีบได้ เพื่อรีดเชื้อออกจากสวอปให้ได้มากที่สุด

4. ชุดตรวจที่ดี แต่อาจจะแพงหน่อย ตรงฝาจุกมีตัวกรองสิ่งปนเปื้อน ป้องกันการรบกวนการอ่านผล

5. การจับเวลาในการอ่านต้องตรงตามผู้ผลิตกำหนด ดังนั้นประชาชนควรศึกษาคู่มือการใช้งานภาษาไทย พร้อมวิดีโอสาธิตการใช้งาน ก่อนเริ่มตรวจ ATK ให้ตนเอง

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

%d bloggers like this: