“ออมรอน เฮลธแคร์” เปิดตัว เครื่องวัดความดัน OMRON รุ่น Complete เครื่องวัดความดันโลหิตและวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ครบจบในเครื่องเดียว
ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) ปฏิวัติวิธีการตรวจสอบสุขภาพหัวใจและก้าวสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง เปิดตัว OMRON Complete เครื่องวัดความดันโลหิตและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เครื่องแรกที่สามารถตรวจวัดความดันโลหิตและคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ในเครื่องเดียว ใช้งานง่าย และ ส่งภาพยนตร์สั้นที่มีชื่อว่า “The Sound of AFib” ภาพยนตร์สารคดีสั้นที่จะช่วยกระตุ้นการรับรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงของสัญญาณการเกิดโรคจากเสียงหัวใจเต้นผิดปกติ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักถึงวิธีการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคสโตรก พร้อมเผยข้อมูลระบุ ผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงและมีภาวะหัวใจห้องบน สั่นพลิ้ว (AFib) ร่วมด้วย เสี่ยงสูงกว่ากลุ่มโรคอื่นและเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นถึง 5 เท่าจากภาวะปกติ รวมถึงเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวสูงได้มากถึง 2-3 เท่าอีกด้วย
นายยูซุเกะ กาโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทชั้นนำด้านอุปกรณ์การแพทย์สำหรับการตรวจวัดและดูแลสุขภาพเบื้องต้นที่บ้านจากประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า สำหรับการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เป็นการตรวจจับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยปกติ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) มักจะตรวจพบได้ยากและไม่แสดงอาการเนื่องจากไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา การตรวจสุขภาพเป็นครั้งคราวจึงทำให้แพทย์ยากที่จะวินิจฉัยอาการป่วยของผู้ป่วยได้ OMRON Complete จึงถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยผู้ป่วยที่มีอาการสามารถตรวจวัดค่าความดันโลหิตและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ ซึ่งการตรวจวัดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) เป็นประจำ มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือด (โรคสโตรก) และเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
ล่าสุดบริษัทฯ ได้จัดงานเปิดตัว OMRON Complete เครื่องวัดความดันโลหิตและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เครื่องแรกของออมรอน ที่สามารถตรวจวัดความดันโลหิตและคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ในเครื่องเดียว ใช้งานง่าย ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติวิธีการตรวจสอบสุขภาพหัวใจและก้าวสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง ช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าใจและเข้าถึงสุขภาพหัวใจของตนเองได้จากที่บ้าน
เครื่องวัดความดัน OMRON Complete จึงเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสุขภาพหัวใจที่บ้าน
สำหรับจุดเด่นของเครื่องวัดความดัน OMRON Complete ได้นำเสนอการผสมผสานคุณสมบัติการวัดที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ OMRON Complete แตกต่างจากเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดั้งเดิม เพราะนอกจากการวัดความดันโลหิตโดยทั่วไปแล้ว OMRON Complete ยังสามารถวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) และตรวจจับการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ รวมถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ด้วยฟังก์ชันการทำงานที่ผสานกันนี้ทำให้ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรึกษากับแพทย์ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับแผนการรักษาของผู้ป่วยได้ดีขึ้นและนี่คือสิ่งที่ทำให้ Complete แตกต่าง
ฟังก์ชั่นคู่: ไม่ใช่แค่การวัดความดันโลหิตขั้นพื้นฐาน แต่ยังรวมถึงเทคโนโลยี ECG ขั้นสูง เพื่อพัฒนาการตรวจจับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ได้ดีขึ้น พร้อมกับการตรวจวัดความดันโลหิตที่ได้รับการรองรับเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้จาก OMRON สิ่งนี้ทำให้ เครื่องวัดความดัน OMRON Complete สามารถตรวจจับได้ทั้งการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ รวมถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ที่อาจเป็นความเสี่ยงที่อันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งการตรวจจับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ได้ตั้งแต่ช่วงแรกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นสัญญาณที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (โรคสโตรก) เป็นอย่างมาก
การใช้งานง่าย: ด้วยการออกแบบและระบบหน้าจอที่ใช้งานง่ายของ เครื่องวัดความดัน OMRON Complete จะช่วยแนะนำผู้ใช้งานในแต่ละขั้นตอนของการวัด เพื่อช่วยให้วางใจว่าการอ่านค่ามีความถูกต้องและการตีความผลลัพธ์ชัดเจน
การเชื่อมต่อแบบไร้สาย: เครื่องวัดความดัน OMRON Complete สามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน OMRON Connect ได้อย่างง่ายดายผ่าน Bluetooth ซึ่งสิ่งนี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามข้อมูลสุขภาพหัวใจของตนได้ตลอดเวลา ตรวจสอบแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้น และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรึกษากับแพทย์ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับแผนการรักษาต่อไปในอนาคต
การรับรองความถูกต้อง: เครื่องวัดความดัน OMRON Complete สามารถวางใจได้ว่าจะได้ค่าความดันโลหิตและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) จากเครื่องวัดความดัน OMRON Complete ที่จะแสดงค่าผลลัพธ์ที่ถูกต้องและชัดเจนเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจของคุณ
พร้อมกันนี้ OMRON Healthcare มุ่งมั่นเพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักเกี่ยวกับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ที่เกิดจากการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ทางบริษัทฯ จึงได้ทำการเปิดตัวภาพยนตร์สั้นที่มีชื่อว่า “The Sound of AFib” ภาพยนตร์สารคดีสั้นที่จะช่วยกระตุ้นการรับรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงของสัญญาณการเกิดโรคจากเสียงหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งสิ่งนี้เป็นแนวคิดอย่างสร้างสรรค์เพื่อช่วยส่งเสริมการตระหนักรู้ถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดและเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักถึงวิธีการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคสโตรก
ดร.สุรพันธ์ สิทธิสุข แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้วยความสามารถในการตรวจวัดความดันโลหิตและคลื่นไฟฟ้าหัวใจในอุปกรณ์เดียว นวัตกรรมนี้กำลังส่งเสริมให้ผู้คนหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพหัวใจของตนเองมากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้วจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเช่นกัน และความเสี่ยงดังกล่าวมีสาเหตุมาจากระดับความดันโลหิตของแต่ละบุคคลและโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น เบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง หรือโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงมีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ร่วมด้วยจะยิ่งส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคมากกว่ากลุ่มอื่น นอกจากนี้ผู้ที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นถึง 5 เท่าจากภาวะปกติ และทำให้เกิดความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลวสูงได้มากถึง 2-3 เท่าอีกด้วย ดังนั้นการสร้างความตระหนักรู้และรณรงค์ในการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ
นางสาวปฐมา บุญรัตน์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวต่อว่า ทางบริษัทฯ ได้จัดทำภาพยนตร์สั้นแนวสารคดี “The Sound of AFib”: เสียงดนตรีที่ทำให้คนตระหนักถึงภาวะหัวใจห้องบน สั่นพลิ้ว (AFib) เป็นสิ่งที่ถูกวินิจฉัยผิดและเข้าใจผิดบ่อยครั้ง OMRON จึงได้ทำการสำรวจเสียงหัวใจที่มีการเต้นผิดจังหวะ ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกถ่ายทอดในภาพยนตร์สั้น “The Sound of AFib” ที่แสดงให้เห็นว่าเสียงที่เกิดขึ้นสามารถแสดงให้เห็นถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ได้อย่างไร ซึ่งนับเป็นภาพยนตร์สั้นแนวสารคดีที่มีแนวคิดสร้างสรรค์และน่าสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจุดประกายประเด็นเกี่ยวกับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) และได้ผสมผสานทำนองจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ มาร่วมถ่ายทอดผ่านนักแต่งเพลง โดยใช้โน้ตดนตรีเข้ามาสร้างสรรค์และถ่ายทอดให้เห็นว่าภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) กำลังมีปฏิกิริยาอย่างไรกับจังหวะ การเต้นของหัวใจในผู้ป่วย ผลลัพธ์ได้ที่คือ เราได้ข้อมูลที่มีคุณค่าอย่างมากในการทำความเข้าใจว่าภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) สามารถทำอะไรกับจังหวะการเต้นของหัวใจของคุณได้บ้าง สิ่งนี้คือวิธีการตรวจสอบและฟังเสียงหัวใจของคุณที่ช่วยแจ้งเตือนคุณให้ทราบถึงภาวะความเสี่ยงสูงของโรคหลอดเลือดสมอง
จากปัจจัยของอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุทั่วโลก ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ส่งผลให้อัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก2 ทำให้ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง (โรคสโตรก) เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้การวิจัยแสดงให้เห็นว่า 40% ของผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) จะไม่แสดงอาการ3 และผู้ป่วยเหล่านี้ไม่เคยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ในชีวิตประจำวัน และอาจจะไม่ทราบถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพหัวใจที่กำลังเผชิญอยู่ในทุกวัน ทั้งนี้ องค์กรสุขภาพระดับโลกยังได้มีการกล่าวถึงความสำคัญในการเพิ่มการรับรู้และการสนับสนุนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) พร้อมทั้งกระตุ้นให้ผู้ที่อาจมีภาวะนี้ดูแลและตรวจสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงของตนเอง4
นอกจากนี้จากการสำรวจยังระบุเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่พบมากที่สุดทั่วโลก การวินิจฉัยนี้พบว่าภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) มีความอันตราย และเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่า 5 เท่า5 แต่กลับเป็นเรื่องที่ถูกมองข้าม เพราะความผิดปกติดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตรวจจับได้ยาก แต่หากผู้ป่วยทราบถึงความสำคัญของการตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้น และการมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่ช่วยในการตรวจวัดสุขภาพ ซึ่งจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการดูแลสุขภาพและการวางแผนการรักษาโรคได้ดีที่สุด สิ่งนี้จึงเป็นจุดมุ่งเน้นที่ OMRON อยากให้ผู้คนตระหนักถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หรือ AFib จากสารคดีหนังสั้นเรื่องนี้
“OMRON Complete เครื่องวัดความดันโลหิตและวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ในเครื่องเดียว สามารถบันทึกข้อมูลสำคัญเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) และประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสม เข้าชมสารคดีหนังสั้นเรื่อง ‘The Sound of AFib’ และอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ OMRON’s The Sound of AFib Awareness Campaign website OMRON อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดี ตรวจวัดเป็นประจำ รู้เท่าทันโรคร้าย” นางสาวปฐมา บุญรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย
1 CDC, Atrial Fibrillation https://www.cdc.gov/heartdisease/atrial_fibrillation.htm
2 AHA Journals, Epidemiology of Atrial Fibrillation in the 21st Century https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/CIRCRESAHA.120.316340
3 PubMed, Asymptomatic vs Symptomatic Atrial Fibrillation https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25974193/
4 World Heart Federation, Confronting the World’s Number One Killer https://world-heart-federation.org/wp-content/uploads/World-Heart-Report-2023.pdf
5 AHA Journals, Risks of Stroke and Mortality in Atrial Fibrillation https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/STROKEAHA.119.025554