วัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซนเนก้า ช่วยกระตุ้นระดับแอนติบอดี ต่อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้
ผลการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สนับสนุนการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ระดับแอนติบอดีชนิดลบล้างหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ได้ผลในระดับเดียวกันกับหลังได้รับวัคซีนเข็มที่สองต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า
ข้อมูลจากการศึกษาในห้องปฏิบัติการล่าสุด1 บ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม มีประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มระดับแอนติบอดีต่อไวรัส SARS-CoV-2 (B.1.1.529) สายพันธุ์โอไมครอน
การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสภายหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 1 โดยพบว่าระดับแอนติบอดีที่เพิ่มขึ้นหลังการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นนั้น มีระดับสูงกว่าที่พบในผู้ที่เคยติดเชื้อและหายป่วยได้เองจากโรคโควิด-19 (สายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์กลายพันธุ์ ได้แก่ อัลฟา เบต้า และเดลต้า)1 โดยเซรั่มที่นำมาทดสอบนั้นมาจากผู้ที่ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามมาแล้วหนึ่งเดือน พบว่า ระดับแอนติบอดีชนิดลบล้างหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ได้ผลในระดับเดียวกันกับหลังได้รับวัคซีนเข็มที่สองต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า1 (ซึ่งการศึกษาจากการใช้จริงในหลายการศึกษาบ่งชี้ว่าการได้รับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าสองโดสสามารถป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลต้าได้2,3 )
การศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดของผู้ติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบสองโดสและได้รับเข็มกระตุ้นแล้ว และผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ที่น่ากังวลอื่นๆ การศึกษานี้ใช้ตัวอย่างเลือดของผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ครบสามเข็มเป็นจำนวน 41 คน 1
การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาอิสระโดยผู้วิจัยของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ซึ่งมีการเผยแพร่บนระบบจัดเก็บเอกสารวิชาการก่อนการตีพิมพ์ออนไลน์ bioRxiv
ศาสตราจารย์ เซอร์ จอห์น เบลล์ ราชศาสตราจารย์ (Regius Professor) ด้านการแพทย์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้วิจัย กล่าวว่า “การค้นพบว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้ในปัจจุบันสามารถใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้ ถือเป็นข่าวดีอย่างยิ่ง ผลการศึกษานี้สามารถช่วยสนับสนุนแนวทางของประเทศต่างๆ ในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้แก่ประชาชน เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่น่ากังวลต่างๆ รวมถึงสายพันธุ์โอไมครอน”
เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) ของแอสตร้าเซนเนก้า กล่าวว่า “วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีบทบาทสำคัญต่อโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทั่วโลก ข้อมูลจากการศึกษาล่าสุดนี้นำมาซึ่งความเชื่อมั่นต่อการใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญคือการพิจารณาถึงแง่มุมอื่น ๆ นอกจากแค่เพียงระดับแอนติบอดี เพื่อที่จะทำความเข้าใจประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ในขณะที่เราเข้าใจสายพันธุ์โอไมครอนมากขึ้น เราเชื่อว่าการตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ (T-cell) จะสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อรุนแรงและป้องกันอาการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้ในระยะยาว”
ข้อมูลจากการศึกษาในห้องปฏิบัติการอีกการศึกษาหนึ่งยังบ่งชี้ข้อสนับสนุนด้านประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน โดยพบว่าในผู้ที่ได้รับวัคซีนดังกล่าวจำนวนสองโดส สามารถคงระดับการลบล้างเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้ แม้ว่าจะมีระดับฤทธิ์ลบล้างที่ลดลงกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม4 และยังมีการศึกษาอื่นๆ ที่บ่งชี้ว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเพิ่มการตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ (T-cell) ที่หลากหลายและยาวนานต่อไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกายต่อเชื้อไวรัสที่ครอบคลุมมากกว่าแค่แอนดิบอตีเพียงอย่างเดียว และอาจเป็นอีกปัจจัยสำคัญสำหรับการป้องกันโรคโควิด-191,5-9
แอสตร้าเซนเนก้าอยู่ระหว่างการพัฒนาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ในการต่อต้านเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน โดยคาดว่าจะมีผลการศึกษาวิเคราะห์เพิ่มเติมในเร็ว ๆ นี้ บริษัทกำลังเก็บข้อมูลการใช้งานจริงเพื่อประเมินระดับประสิทธิภาพของวัคซีนต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนร่วมกับกลุ่มนักวิชาการในภูมิภาคแอฟริกาใต้ นอกจากนี้แอสตร้าเซนเนก้ากำลังทำการวิเคราะห์เลือดของกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการทดลองระยะที่สอง/สาม เพื่อประเมินประสิทธิภาพการลบล้างเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน หลังการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ทั้งด้วยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอส ตร้าเซนเนก้า และวัคซีนรุ่นใหม่ที่อยู่ระหว่างการวิจัย (AZD2816)
ข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับสายพันธุ์ต่างๆที่น่ากังวล ไม่รวมสายพันธุ์โอไมครอน สนับสนุนการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่สามได้ทั้งหลังการใช้วัคซีนชนิดเดียวกันและต่างชนิดกัน6,10
การวิเคราะห์ย่อยของผลการทดลอง COV001 และ COV002 แสดงให้เห็นว่าการใช้วัคซีนป้องกันโควิด–19ของแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นหลังจากการได้รับวัคซีนครับสองเข็มไปแล้ว 6 เดือน สามารถกระตุ้นระดับแอนติบอดีได้เพิ่มขึ้นหกเท่าและรักษาการตอบสนองของทีเซลล์ให้อยู่ในระดับเดิม การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่สามยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์อัลฟา เบต้า และเดลต้า ได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้วัคซีน 2 เข็ม ในการทดลองใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม มีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้เข็มแรก6
นอกจากนี้ ผลการทดลอง COV-BOOST แสดงให้เห็นว่าการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามสามารถกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมต่อทั้งเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า และสายพันธุ์ดั้งเดิม ไม่ว่าวัคซีนสองโดสแรกนั้นจะเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือ วัคซีน BioNtech (BNT162b2) ของไฟเซอร์ก็ตาม10
หมายเหตุ
การศึกษาโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
การศึกษาทางห้องปฏิบัติการโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดทำการประเมินประสิทธิภาพการลบล้างไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอไมครอน โดยใช้เซรั่มของผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนาตั้งแต่เริ่มมีการระบาด รวมถึงสายพันธุ์อัลฟา เบต้า แกมมา และเดลต้า นอกจากนั้นยังมีเซรั่มจากผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีน BNT162b2 ของไฟเซอร์-ไบออนเทคเป็นจำนวนสามโดส โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์นี้รวบรวมตัวอย่างจากผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าครบสามโดสจำนวน 41 ราย และผู้ที่ได้รับวัคซีน BNT162b2ของไฟเซอร์-ไบออนเทคครบสามโดสจำนวน 20 ราย 1
References
- Dejnirattisai W. et al. Omicron-B.1.1.529 leads to widespread escape from neutralizing antibody responses. BioRxiv. Available at: https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2021.12.03.471045v2.full.pdf Last accessed December 2021.
- Public Health England. Effectiveness of COVID-19 vaccines against hospital admission with the Delta (B.1.617.2) variant. Available at: https://khub.net/web/phe-national/public-library/-/document_library/v2WsRK3ZlEig/view_file/479607329?_com_liferay_document_library_web_portlet_DLPortlet_INSTANCE_v2WsRK3ZlEig_redirect=https%3A%2F%2Fkhub.net%3A443%2Fweb%2Fphe-national%2Fpublic-library%2F-%2Fdocument_library%2Fv2WsRK3ZlEig%2Fview%2F479607266 Last accessed December 2021.
- Sheikh A. et al. SARS-CoV-2 Delta VOC in Scotland: demographics, risk of hospital admission, and vaccine effectiveness. The Lancet. Available at: https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(21)01358-1/fulltext#articleInformation Last accessed December 2021.
- Cameroni E et al. Broadly neutralizing antibodies overcome SARS-CoV-2 Omicron antigenic shift. BioRxiv. Available at: https://doi.org/10.1101/2021.12.12.472269 Last accessed December 2021
- Swanson P. et al. T-cell mediated immunity after AZD1222 vaccination: A polyfunctional spike-specific Th1 response with a diverse TCR repertoire. Science Translational Medicine. Available at: https://www.science.org/doi/10.1126/scitranslmed.abj7211 Last accessed December 2021.
- Flaxman A. Tolerability and immunogenicity after a late second dose or a third dose of ChAdOx1 nCoV-19 (AZD1222). The Lancet. Available at: https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3873839. Last accessed December 2021.
- Redd, A. D. et al. Minimal cross-over between mutations associated with Omicron variant of SARS-CoV-2 and CD8+ T cell epitopes identified in COVID-19 convalescent individuals. BioRxiv. Available at: https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2021.12.06.471446v1 Last accessed December 2021.
- Parry H et al. Single Vaccination with BNT162b2 or ChAdOx1 in Older People Induces Equivalent Antibody Generation but Enhanced Cellular Responses after ChAdOx1. The Lancet. Available at: https://ssrn.com/abstract=3825573 Last accessed December 2021.
- Parry H et al. Differential immunogenicity of BNT162b2 or ChAdOx1 vaccines after extended-interval homologous dual vaccination in older people. Immun Ageing. 2021; 18,34. Available at: https://doi.org/10.1186/s12979-021-00246-9 Last accessed December 2021.
- Munro A PS et al. Safety and immunogenicity of seven COVID-19 vaccines as a third dose (booster) following two doses of ChAdOx1 nCov-19 or BNT162b2 in the UK (COV-BOOST): a blinded, multicentre, randomised, controlled, phase 2 trial. The Lancet. Available at: https://doi.org/10.1016/S0140-6736(21)02717-3 Last accessed December 2021.