ประกวดหนังสั้นประวัติศาสตร์ “แก่นไทย เชื่อมไทย เชื่อมโลก”

0 0
Read Time:3 Minute, 51 Second

5 สถาบันเปิดตัวโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นประวัติศาสตร์ “แก่นไทย เชื่อมไทย เชื่อมโลก” นำร่องเฟสแรก ภาคกลาง 22 จังหวัด  เริ่มเปิดรับสมัคร 15 กุมภาพันธ์ นี้

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ธัชชา วิทยสถาน สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS) ได้ร่วมกัน จัดโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นประวัติศาสตร์ ภายใต้แนวคิด “แก่นไทย เชื่อมไทย เชื่อมโลก”

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการประกวดในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ เยาวชน คนรุ่นใหม่ นักเรียน และนิสิต นักศึกษา ที่สนใจในการประกวดและผลิตภาพยนตร์สั้น ได้มีความเข้าใจและมีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของท้องถิ่นของเรา ด้วยการมีส่วนร่วมและถ่ายทอดผลงานในรูปแบบของภาพยนตร์สั้น ซึ่งกิจกรรมนี้ ยังเป็นเวทีในการเผยแพร่ และจัดแสดงผลงานของเยาวชนทุกคนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการประกวดในโครงการฯ นี้ นอกเหนือจากเงินรางวัล โล่รางวัลและของรางวัลแล้ว ทุกทีมที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ จะได้รับประกาศนีบัตรทุกทีมอีกด้วย

อาจารย์ปัญจพล เหล่าพูนพัฒน์

อาจารย์ปัญจพล เหล่าพูนพัฒน์ ประธานโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นประวัติศาสตร์   แก่นไทย เชื่อมไทย เชื่อมโลก เปิดเผยว่า อยากให้น้อง ๆ นักเรียน นักศึกษา เยาวชนคนรุ่นใหม่มองว่า ประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่องล้าสมัย ประวัติศาสตร์เป็นรากของวัฒนธรรมของคนในชาตินั้น ๆ ซึ่งคนไทยเองก็มีความแตกต่างจากชาติอื่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเป็นอยู่ มีอาหารการกิน มีลายผ้าของเครื่องนุ่งห่ม มีรูปลักษณ์ทางศิลปะ มีงานสถาปัตยกรรมไทยที่แต่ละเรื่อง แต่ละประเภท มีความเฉพาะเจาะจงอยู่ในทุกปัจจัย 4 ที่เราคุ้นเคยและอยู่รอบตัวเรา วันนี้เป็นผลจากอดีต และวันนี้เป็นเหตุของอนาคต

เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจประวัติศาสตร์ ก็เหมือนเรารู้จักตัวตนของเราดีขึ้น จะช่วยให้เราเตรียมการสำหรับอนาคตได้ดีขึ้น การเรียนรู้จากแก่นไทย ไม่ได้อยากให้เอาประวัติศาสตร์แบบท่องจำมาสื่อสาร แต่อยากให้เริ่มจากมุมมองของคนรุ่นใหม่ แล้วนำไปสู่การค้นคว้า หาแก่นของสิ่งที่เราเห็น เรามี เราเสพ เราใช้ โครงการนี้ถึงใช้คำว่า แก่นไทย และอยากชวนคิดต่อซึ่งคงไม่เฉลยว่ามุมไหนที่จะเป็น เชื่อมไทย เชื่อมโลก เพื่อเปิดโอกาสน้อง ๆ ให้คิดต่อยอดได้ในอนาคตต่อไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช

สำหรับการจัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ ฯ ในครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ให้เกียรติมาเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดงาน 

รองศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์

และนอกจากนี้ยังมีการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “แก่นไทย หัวใจภาพยนตร์สั้นประวัติศาสตร์” นำการเสวนาโดย อาจารย์ปัญจพล เหล่าพูนพัฒน์ ประธานโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นประวัติศาสตร์ “แก่นไทย เชื่อมไทย เชื่อมโลก” ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์ อาจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร คุณเรวดี อัตตพงค์พันธ์ โปรดิวเซอร์รายการชำนาญการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

คุณเรวดี อัตตพงค์พันธ์ 
คุณคมกฤษ ตรีวิมล

คุณคมกฤษ ตรีวิมล ผู้กำกับภาพยนตร์ กลุ่ม 365 ฟิล์ม ค่ายจีดีเอช โดยการเสวนาในกิจกรรมนี้ ยังมีแขกรับเชิญพิเศษ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ที่ร่วมเสวนาพูดคุยผ่านสื่อออนไลน์อีกด้วย

โดยการประกวดแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (หรือเทียบเท่า) และ ระดับอุดมศึกษา (หรือเทียบเท่า) ชิงโล่รางวัลและเงินรางวัลจาก 5 สถาบัน พร้อมประกาศนียบัตรให้กับทุกทีมที่ส่งผลงานเข้าประกวด และมอบทุนการศึกษาเป็นเงินรางวัลมูลค่ารวมมากกว่า 850,000 บาท ในโครงการประกวดฯ 4 ภูมิภาค และชิงแชมป์ประเทศไทย โดยเริ่มเปิดโครงการเฟสแรกเป็นโครงการ นำร่อง แก่นไทย เชื่อมไทย เชื่อมโลก ครั้งที่ 1 ในเขตภาคกลาง 22 จังหวัด

ขอเชิญชวนน้อง ๆ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ในเขตภาคกลางทุกท่าน ส่งใบสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป โดยเริ่มเปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 กำหนดส่งใบสมัครทางออนไลน์ได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 และหมดเขตส่งผลงานวันที่ 20 เมษายน 2565 สามารถดาวน์โหลดใบสมัคร ได้ทาง เฟซบุ๊กแฟนเพจ “แก่นไทย โครงการประกวดภาพยนตร์สั้นประวัติศาสตร์” และติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทางไลน์ที่ @historyshortfilm หรือทางอีเมล์:  thaihistoryshortfilm@gmail.com

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

%d bloggers like this: