CMMU ปั้นโมเดล CMMU Executive Education Center

0 0
Read Time:6 Minute, 15 Second

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU (College of Management, Mahidol University) ปั้นโมเดล ‘ศูนย์กลางการให้บริการวิชาการ’ หรือ CMMU Executive Education Center ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของวิทยาลัยฯ ในการนำองค์ความรู้วิชาการจากงานวิจัยในปัจจุบันที่มากด้วยข้อมูลทันสมัย เทคนิคต่างๆ ร่วมด้วยภาคีพันธมิตรของวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ ขับเคลื่อนภาคธุรกิจและบุคลากรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ สังคม และชุมชม ให้แข็งแกร่ง และปรับตัวยืดหยุ่นต่อทุกสถานการณ์ได้

รศ. ดร.พลิศา รุ่งเรือง รองคณบดีงานบริการวิชาการ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า CMMU ได้จัดตั้งหน่วยงานบริการวิชาการ โดยมี CMMU Executive Education Center เป็นพื้นที่ที่เชื่อมโยงระหว่างภาควิชาการและภาคธุรกิจ หนึ่งในภารกิจสำคัญด้านการให้บริหารวิชาการแก่สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร ผ่านการส่งมอบองค์ความรู้ การให้คำปรึกษา การจัดอบรมสัมมนาทางวิชาการ โดยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของ CMMU ในหลากหลายสาขา อาทิ การตลาด การเงิน ทุนมนุษย์และการจัดการองค์กร ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม การจัดการกลยุทธ์ การจัดการธุรกิจอาหาร และการจัดการธุรกิจสุขภาพ ซึ่งจำเป็นต่อการขับเคลื่อนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ ชุมชน และสังคม ภายใต้วัตถุประสงค์ 3 ประการในการสร้างและกระจายองค์ความรู้ทางด้านการบริหารจัดการ ดังนี้ 1) ส่งต่อองค์ความรู้วิชาการ/งานวิจัย ผลักดันธุรกิจเติบโต 2) นำโจทย์จากภาคธุรกิจมาเป็นกรณีศึกษาแก่ผู้เรียน เพื่อฝึกกระบวนการคิดและเรียนรู้การปรับแผนธุรกิจให้เท่าทันต่อการแข่งขัน/การเปลี่ยนแปลง และ 3) ต่อยอดผลลัพธ์ที่ได้จากการอบรมมาพัฒนาเป็นหัวข้องานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่

สำหรับหน่วยงานบริการวิชาการจะให้บริการใน 2 ส่วนหลัก คือ 1. การฝึกอบรม (Training) และ 2. การให้คำปรึกษา (Consulting) แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ สำนักงาน ก.พ., กระทรวงสาธารณสุข, วิทยุการบิน, PTT, SCG, Toyota, PepsiCo, ThaiBev, Bangkok Airways, และ KCG เป็นต้น โดยการฝึกอบรม (Training) จะมีทั้งหลักสูตรสำหรับพนักงาน/ผู้บริหารของหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจเข้ารับการฝึกอบรม (Public Programs) และหลักสูตรที่ออกแบบให้ตอบโจทย์ของแต่ละองค์กรที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน (Customized Programs) โดยองค์ความรู้ในการฝึกอบรมจะครอบคลุมทั้ง Hard skills ที่สำคัญสำหรับผู้บริหาร อาทิ ความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ (Business Creativity) การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Business Creativity) การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analysis) แพลตฟอร์มโมเดลธุรกิจ (Platform Business Models) การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) และ Soft Skills ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนองค์กร อาทิ ภาวะผู้นำและการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change management) เจนเนอเรชั่นต่างๆ ในที่ทำงาน (Generations at Work) การสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) และการทำงานเป็นทีมและความร่วมมือ (Teamwork and Collaboration) เป็นต้น

รศ. ดร.พลิศา กล่าวต่อว่า จากการให้บริการวิชาการต่อภาครัฐและภาคเอกชนที่ผ่านมา พบว่าในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าได้นั้น ‘ผู้บริหารระดับสูง’ นับเป็นกำลังสำคัญที่จะสร้าง impact แก่องค์กร ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาตนเองของบุคลากรในองค์กร การทำงานร่วมกันของทีมงานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี รวมถึงเปลี่ยนปัญหาขององค์กรให้เป็นแผนธุรกิจสุดปัง ดังนั้น ศูนย์กลางการให้บริการวิชาการ จึงร่วมกับ MIT Sloan School of Management สหรัฐอเมริกา เปิดหลักสูตร Senior Executive Education Program ภายใต้แนวคิด Strategy and Innovation for Businesses in ASIA หรือ SIBA สำหรับผู้บริหารระดับสูงหรือเจ้าของธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งปี 2564 ได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 ในการจัดหลักสูตรร่วมกัน และที่ผ่านมาหลักสูตร SIBA สร้างผู้บริหารให้กับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนจำนวนมาก รวมทั้งช่วยให้ผู้บริหารได้เกิดไอเดียในการสร้างสรรค์โครงการใหม่ๆ เช่น โครงการสร้างโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็งแห่งแรกของประเทศไทยในปี 2563 ภายใต้ความร่วมมือของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ที่ผู้บริหารระดับสูงทั้งสององค์กรมีโอกาสได้มาร่วมพบปะแลกเปลี่ยนแนวคิดร่วมกันผ่านหลักสูตร SIBA นี้ หรือโครงการสุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards ของซีพี ออลล์ ที่เปิดพื้นที่ให้ทุกคนแข่งขันสร้างนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติจนถึงปัจจุบัน

รวมทั้ง ศูนย์กลางการให้บริการวิชาการได้ร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) กระทรวงต่างประเทศ, มูลนิธิมั่นพัฒนา และ Institute of Sustainable Leadership (ISL) ประเทศออสเตรเลีย จัดหลักสูตรฝึกอบรม Sustainable Thinking in Sustainable Development (STiSD) ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงจากประเทศสมาชิก G77 ที่มีความประสงค์จะเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศตามบริบทในพื้นที่ของตนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการจัดหลักสูตฝึกอบรมครั้งนี้ CMMU ได้นำผลงานวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงไปร่วมแลกเปลี่ยนด้วย นับว่าเป็นการยกระดับการทำงานของศูนย์กลางการให้บริการวิชาการ ที่ส่งมอบองค์ความรู้สู่ระดับนานาชาติ ตอกย้ำว่า CMMU เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำที่ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนาแท้จริง

นอกจากนี้ จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้ประกอบการปัจจุบันต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนทั้งด้านเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส จึงอยากเสนอ 3 แนวทางเพื่อช่วยส่งเสริมและผลักดันผู้ประกอบการให้ขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปได้ ดังนี้

1. Self-Management ผู้ประกอบการต้องมีทักษะบริหารจัดการตนเอง รวมถึงความสามารถพื้นฐานที่ผู้ประกอบการพึงมี เพราะปัจจุบันธุรกิจต้องอยู่กับความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก จึงต้องมีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ การตัดสินใจที่รวดเร็ว ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เพื่อเข้าใจความรู้สึกของตนเองและทีมงาน สามารถควบคุมความรู้สึกของตนและแสดงออกอย่างเหมาะสมภายใต้ภาวะที่ค่อนข้างกดดันนี้ รวมถึงการสื่อสารเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับทีมงานก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

2. Resilience ล้มแล้วลุกให้เร็ว โอกาสที่จะล้มเป็นเรื่องปกติ แต่ล้มแล้วจะทำอย่างไรให้ฟื้นกลับมาได้ในระยะอันสั้น ผู้ประกอบการจึงควรมีกรอบแนวคิดแบบ Growth Mindset เปลี่ยนความล้มเหลวเป็นบทเรียนเพื่อเติบโตอย่างก้าวกระโดด รวมทั้งส่งเสริมให้ทีมงานมี Growth Mindset เช่นกัน เพราะพนักงานที่มี Growth Mindset จะมีมุมมองเชิงบวกในการทำงาน มุ่งมั่นพัฒนาตนเอง ตลอดจนร่วมมือกันในการทำงาน อันส่งผลให้ต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร รวมทั้งสามารถพัฒนาธุรกิจให้ก้าวต่อไปข้างหน้าได้ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการควรมีความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Flexibility and Adaptability) เมื่อสถานการณ์รอบตัวเปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความพร้อมที่ก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัยของตนเอง ปรับมุมมองหรือวิธีคิด ปรับแผนงานเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ตลอดจนเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ อย่างรวดเร็วและอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสวงหาโอกาสจากความท้าทายที่ธุรกิจกำลังเผชิญ

3. Sustainability สร้างแผนธุรกิจที่มีความยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องจับตาดูเสมอ และต้องมองแผนธุรกิจในระยะยาวเพื่อสร้างความยั่งยืน เพราะหลายครั้งสถานการณ์ก็อาจทำให้เผลอมองในระยะสั้นๆ หรือมองแค่ช่วงนี้ ซึ่งธุรกิจที่สามารถเอาตัวรอดจากหลายๆ วิกฤตได้ ย่อมเกิดจากการสร้างแผนธุรกิจที่ยั่งยืน และการบูรณาการองค์ความรู้พร้อมทั้งวิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการ ในการพิจารณาว่าทำอย่างไรธุรกิจจะสามารถอยู่ได้ดี และอยู่ได้นาน

ติดตามข้อมูลหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจ “CMMU Mahidol” (https://www.facebook.com/CMMUMAHIDOL) หรือเพจเฟซบุ๊ก “CMMU Executive Education Center” (https://www.facebook.com/cmmuexecutiveeducation)

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

%d bloggers like this: